BTU กรุงเทพธนบุรี
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี (มกธ.) หรือ Bangkokthonburi University (BTU) ซึ่งเดิมคือ “วิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี” ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๕ ตามเจตนารมณ์ของ ศาสตราจารย์ ดร.บังอร เบ็ญจาธิกุล อธิการบดี ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศและสนองศรัทธาของชุมชน ความปรารถนาของท่านผู้ปกครอง ศิษย์เก่าพณิชยการกรุงเทพและโพลีเทคนิคพณิชย์กรุงเทพ ตลอดจนเยาวชนและประชาชนทั่วภูมิภาคในการสืบสานสู่การศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่สมบูรณ์แบบภายใต้ปณิธานที่จะให้สถาบันการศึกษาเป็นที่รวมองค์ความรู้วิชาการแขนงต่าง ๆ อันล้ำเลิศ ทันสมัยและบุคลากรที่มีความสามารถเชี่ยวชาญด้านการศึกษา โดยจัดการศึกษาที่เปิดโอกาสให้บุคคลได้มีโอกาสศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนให้มีความรู้ความสามารถควบคู่กับการมีคุณธรรม จรรยาบรรณในวิชาเรียน และดำรงตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ประเทศชาติตามปรัชญาแห่งสถาบันที่ว่า “สร้างปัญญา พัฒนาคน ฝึกฝนคุณธรรม”
ประวัติ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี (BTU)“มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี” ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการอุดมศึกษาและผ่านการอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ให้เปลี่ยนประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชนจาก “วิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี” เป็น “มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี (มกธ.) หรือ Bangkokthonburi University (BTU)” ในวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๒
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี (มกธ.) หรือ Bangkokthonburi University (BTU) ซึ่งเดิมคือ “วิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี” ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๕ ตามเจตนารมณ์ของ ศ.ดร.บังอร เบ็ญจาธิกุล อธิการบดี ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศและสนองศรัทธาของชุมชน ความปรารถนาของท่านผู้ปกครอง ศิษย์เก่าพณิชยการกรุงเทพและโพลีเทคนิคพณิชย์กรุงเทพ ตลอดจนเยาวชนและประชาชนทั่วภูมิภาคในการสืบสานสู่การศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่สมบูรณ์แบบภายใต้ปณิธานที่จะให้สถาบันการศึกษาเป็นที่รวมองค์ความรู้วิชาการแขนงต่าง ๆ อันล้ำเลิศ ทันสมัยและบุคลากรที่มีความสามารถเชี่ยวชาญด้านการศึกษา โดยจัดการศึกษาที่เปิดโอกาสให้บุคคลได้มีโอกาสศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนให้มีความรู้ความสามารถควบคู่กับการมีคุณธรรม จรรยาบรรณในวิชาเรียน และดำรงตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ประเทศชาติตามปรัชญาแห่งสถาบันที่ว่า “สร้างปัญญา พัฒนาคน ฝึกฝนคุณธรรม”
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี มีสถานที่ทำการตั้งอยู่ ๒ แห่ง รวมพื้นที่ทั้งหมด ๒๑๙ ไร่ ๓ งาน ๙๔ ตารางวา โดยสถานที่ทำการแห่งแรกตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๑๖/๑๐ หมู่ ๒ ถนนเลียบคลองทวีวัฒนา แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ ๑๐๑๗๐ บนพื้นที่ ๑๘๘ ไร่ ๒ งาน ๘ ตารางวา และสถานที่ทำการแห่งที่ ๒ ตั้งอยู่ ณ ตำบลสระกระโจม อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ๗๒๑๗๐ บนพื้นที่ ๓๑ ไร่ ๑ งาน ๘๖ ตารางวา เนื่องจากทำเลที่ตั้งเป็นบริเวณชานเมืองกรุงเทพฯซึ่งสะดวกต่อการคมนาคมทั้งทางรถยนต์และรถโดยสารประจำทาง อีกทั้งแวดล้อมด้วยหน่วยงานราชการต่างๆ ดังกล่าวเป็นปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้การดำเนินงานตามภารกิจหลักของสถาบันลุล่วงไปด้วยดี ตลอดระยะเวลานับแต่การก่อตั้งสถาบันจาก “วิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี” ถึง “มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี” ในปัจจุบัน สถาบันการศึกษาแห่งนี้ได้ดำเนินงานตามภารกิจหลักในฐานะสถาบันอุดมศึกษาครบถ้วนทั้ง ๔ ประการอย่างสมบูรณ์ โดยดำรงไว้ซึ่งประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยภารกิจด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่สังคมและด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จนเป็นที่ยอมรับของชุมชน สังคมและประเทศชาติ ทั้งมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการเป็นสถาบันที่ก้าวนำการศึกษาให้ครอบคลุมทั่วถึงประชาชนทุกภูมิภาคบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันและเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกสืบไป
รางวัลเกียรติยศ
รางวัลเกียรติยศด้านกีฬามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ประจำปีการศึกษา 2559 มีรายละเอียดดังนี้
ถ้วยรางวัลพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ประเภทการแข่งขันกีฬากรีฑาคะแนนรวมชาย ในการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 43 กันเกราเกมส์ ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
ถ้วยรางวัลพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ประเภทการแข่งขันกีฬากรีฑาคะแนนรวมหญิง ในการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 43 กันเกราเกมส์ ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
ถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬายิงปืนอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย ประจำปี 2559 ประเภทยิงปืนทีมหญิง ณ สนามยิงปืนหัวหมากการกีฬาแห่งประเทศไทย
ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ได้รับรางวัลนักบริหารดีเด่นแห่งปี 2559 สาขาการบริหารการศึกษา และการกีฬาจากมูลนิธิเพื่อสังคมไทย
นางสาวรัชนก อินทนนท์ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี นักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทยอดีตมือหนึ่งของโลก
นางสาวสุเบญรัตน์ อินแสง ได้รางวัลนักกีฬายอดเยี่ยมกีฬากรีฑา ประเภทขว้างจักรหญิงจากการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 43 กันเกราเกมส์ ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
นายปริญญวัฒน์ ทองน่วม ได้รางวัลนักกีฬายอดเยี่ยมกีฬาแบดมินตันจากการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 43 กันเกราเกมส์ ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
นายณัฏฐพร กรรเจียง ได้รางวัลนักกีฬายอดเยี่ยมกีฬาเปตอง จากการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 43 กันเกราเกมส์ ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
นางสาวภัทรวดี กิตติยะ ได้รางวัลนักกีฬายอดเยี่ยมกีฬาว่ายน้ำจากการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 43 กันเกราเกมส์ ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
ศาสตราจารย์
ดร.บังอร เบ็ญจาธิกุล
อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี/ผู้รับใบอนุญาต
กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
พลเอก
เชษฐา ฐานะจาโร
นายกสภามหาวิทยาลัย
ศาสตราจารย์
นพ.วุฒิชัย ธนาพงศธร
กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
รองศาสตราจารย์
ดร.ธำรงค์ อุดมไพจิตรกุล
กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
พรศักดิ์ ตระกูลชีวพานิตต์
กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
พลโท
เจริญ เบญจาทิกุล
กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
นพ.พิชญา นาควัชระ
กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
อรุณี ม่วงน้อยเจริญ
กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.วิทยา เบ็ญจาธิกุล
กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
ศาสตราจารย์
กิตติคุณ ดร.ปิยนาถ บุนนาค
กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
พันตำรวจโท ทพ.
พจนารถ พุ่มประกอบศรี
กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
ว่าที่ร้อยตรี
ดร.ถวัลย์ รุยาพร
กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร. เสงี่ยม บุษบาบาน
เลขานุการสภามหาวิทยาลัย